มาตราฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ฉบับ พ.ศ.2561

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓

1. อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ

(อาคารสูง-อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้โดยมีความสูงตั้งแต่ ๒๓.๐๐ เมตร ขึ้นไป / อาคารขนาดใหญ่พิเศษ-อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป)

2. อาคารชุมนุมคน

(อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป )

3. อาคารตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

การตรวจสอบอาคาร-กรมโยธาธิการและผังเมือง

1. กฎกระทรวง กําหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๘

2. กฎกระทรวง กําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๘

กฎกระทรวงกําหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ

ข้อ ๑ อาคารประเภทดังต่อไปนี้ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๓๒ ทวิ

1. โรงมหรสพ

2. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจํานวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

3. สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป

4. อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

5. อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ ใช้สอย ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป

6. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสําหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมี พื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

ข้อ ๒ ในการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารสําหรับอาคารตามข้อ ๑ (๔)

1. อาคารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 7 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

2. อาคารที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

ประเภทการตรวจสอบอาคาร

1. การตรวจสอบใหญ่ ให้กระทําทุก 5 ปี โดยจัดให้มี

   – แผนปฏิบัติการตรวจบํารุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารและคู่มือปฏิบัติการตามแผนฯ

   – จัดให้มีแผนการตรวจสอบอาคารฯประจําปี และแนวทางการตรวจสอบตามแผน

2. การตรวจสอบประจําปี ให้กระทําในช่วงปีระหว่างการตรวจสอบใหญ่เป็นประจําทุกปี

หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานการตรวจสอบอาคาร

(๑) หลักเกณฑ์ตามที่ได้กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการก่อสร้างอาคารนั้น หรือ

(๒) มาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสภาสถาปนิก

ข้อมูลอ้างอิง: อ.เมธินพัฐ บวรธรรมรัตน์

ข้อมูลจาก : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

Message us